เผยแพร่ครั้งแรก 30 กรกฎาคม 2557 ในชื่อหัวข้อ ”เส้นทางยาเสพติดของลุงสมชาย”
แก้ไขอัพเดทเพิ่มเติมครั้งที่1.... 12
กันยายน 2560 ในชื่อหัวข้อ “สถาบันกษัตริย์กับการค้ายาเสพติด”
คำนำ
** ** **
ในเรื่องการการค้ายาเสพติด หลายท่านอาจสงสัยว่า
สิ่งที่น่ารังเกียจนี้ จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ภูมิพลได้
อย่างไร? เพราะในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมาทุกรัฐบาลรัฐบาลได้ใช้งบประมาณเป็นจำนวนมหาศาล
ทุ่มไปกับทุกสื่อสารมวลชน ให้โหมโฆษณาชวนเชื่อ ยกย่องเทิดทูนสถาบันกษัตริย์กันอย่างบ้าคลั่ง
โดยสร้างภาพให้ประชาชนเห็นเฉพาะในด้านดี จนดูเหมือนว่า กษัตริย์ภูมิพลเปรียบเหมือนเป็นเทพเจ้าที่ลงมาจุติ
ทั้งมีความเป็นอัจฉริยะ ทั้งเชี่ยวชาญชำนาญการในทุกสาขาวิชา รวมทั้งการเป็นยอดคนที่เก่งไปทุกเรื่อง
ซึ่งการโหมโฆษณาสร้างภาพอย่างบ้าคลั่งนั้น ทำให้กษัตริย์ภูมิพลและครอบครัว รวมทั้งหมาที่เลี้ยงไว้ ได้กลายพันธ์ไปเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มีผู้คนกราบไหว้บูชา และยังทำให้ผู้คนจำนวนมาก หลงงมงาย เทิดทูนสถาบันกษัตริย์กันอย่างบ้าคลั่ง
ในเมื่อสถาบันกษัตริย์ได้กลายพันธ์ไปเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งนิตยสารฟอร์บส์ Forbes ซึ่งเป็นนิตยสารชื่อดังของโลก ได้จัดอันดับให้กษัตริย์ภูมิพล รวยเป็นอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี ก็ยิ่งทำให้หลายคน ไม่อยากจะเชื่อว่า กษัตริย์ภูมิพลและครอบครัวจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ “การค้ายาเสพติด”
แต่ทั้งหมดนี้ คือสิ่งที่บุคคลภายนอก รวมทั้งประชาชนทั่วไป มองเห็นแต่เพียงเปลือกนอกเท่านั้น แต่ใน เบื้องหลังที่แท้จริงแล้ว ครอบครัวกษัตริย์ภูมิพล มีความลับดำมืด ซ่อนอยู่อย่างมากมาย
และเพื่อให้มีความกระจ่างชัดว่า “ทำไมกษัตริย์ภูมิพลและครอบครัวจึงต้องค้ายาเสพติด” ผู้เขียนจึงขอ
นำ ท่านผู้อ่าน ย้อนกลับไปดูจุดกำเนิดของตระกูลมหิดลตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะจุดกำเนิดตรงนั้น คือที่มาของ การค้ายาเสพติดที่ริเริมโดยพระชนนีศรีสังวาล รวมทั้งแหล่งที่มาของยาเสพติดว่ามีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ภูมิพลได้อย่างไร? ซึ่งมีลำดับความเป็นมาตามขั้นตอนดังต่อไปนี้.-
สารบัญ
** ** **
ตอนที่
1 สายเลือดสีน้ำเงินของกษัตริย์ต้องเข้มข้น
ตอนที่ 2 การเมืองในสยามประเทศ
ตอนที่ 3 วิธีการควบคุมกองทัพของกษัตริย์ภูมิพล
ตอนที่ 4 แหล่งที่มาของยาเสพติด และการเข้ามาของกองพล 93
ตอนที่ 5 ที่มาของเฮโรอีน Brand “บลูเมจิก (Blue Magic)”
ตอนที่ 6 ยาเสพติด ขบวนการมาลีปา เส้นทางที่ 1 เข้ามาทาง ดอยตุง และวัดพระธาตุผาเงา
ตอนที่ 7 ยาเสพติด ขบวนการมาลีปา เส้นทางที่ 2 เข้ามาทาง ดอยอ่างขาง
ตอนที่ 8 ยาเสพติด ขบวนการมาลีปา เส้นทางที่ 3 เข้ามาทางดอยอ่างขางลงสู่ เวียงแหง-เชียงดาว-แม่แตง-แม่ริม
ตอนที่ 9 ยาเสพติด ขบวนการมาลีปา เส้นทางที่ 4 เข้ามาทาง-แม่แตง-ดอยปุย-ภูพิงค์ราชนิเวศน์..
ตอนที่ 10 บทสรุป: ภูมิพลแอบสั่งพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ส่งกองกำลังติดอาวุธช่วยเจ้ายอดศึก และ เจาะลึก
ขุมกำลังกองทัพว้า
** ** ** ** ** **
ตอนที่ 1
สายเลือดสีน้ำเงินของกษัตริย์ต้องเข้มข้น
สังคมของคนในวัง ที่ยกตัวเองว่าเป็นชนชั้นที่สูงที่สุดนั้น เหล่าบรรดาเชื้อพระวงศ์จะหลงในมายาภาพที่หลอกลวง โดยจะมีการ ถือยศ ถือศักดิ์กันมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นเชื้อพระวงศ์ด้วยกัน ก็ต้องมีลำดับทางชนชั้น และการที่จะนับถือกันนั้น พวกเขาจะนับกันตามสายเลือด โดยจะมีการลำดับว่า สายตระกูลของใครมีสายเลือดของกษัตริย์ที่เข้มข้นกว่ากัน โดยพวกเขาจะไม่ยอมรับ และดูถูกพวกเชื้อพระวงศ์ ที่มีศักดิ์และสายเลือดที่ต่ำกว่าตระกูลของตน
โดยพวกเชื้อพระวงศ์ มักจะมานั่งลำดับเชื้อสายโคตรวงศ์ตระกูลของพวกตน และโคตรวงศ์ตระกูลของเชื้อพระวงศ์สายอื่น ว่าคนนี้เป็นใคร? มาจากไหน? สายเลือดใคร? มีสายเลือดของสามัญชนหรือของคนต่างชาติปนเปื้อนอยู่หรือไม่? อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเชื้อพระวงศ์เหล่านี้ จะมีความเชี่ยวชาญในการลำดับโคตรกันทุกคน
ซึ่งในเบื้องหลังระหว่างโคตรตระกูลมหิดลของกษัตริย์ภูมิพล กับโคตรตระกูลกิติยากรของราชินีสิริกิติ์นั้น ก็มักจะมีการนินทาว่าร้ายกันเองอยู่เสมอ เช่น พวกโคตรตระกูลมหิดลก็มักจะดูถูกล้อเลียน โคตรตระกูลของราชินีสิริกิติ์ว่า ”เป็นพวกเจ๊ก” เพราะปู่ของสิริกิติ์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถมีแม่คือ เจ้าจอมมารดาอ่วม ที่มีพ่อเป็นเจ๊กคือ (เจ้าสัวยิ้ม แซ่เล้า) โดยมีการล้อเลียนว่า พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ที่เกิด วันจันทร์-เดือนเจ็ด- ปีจอ เป็นลูกพระจุล(ร.5) หลานพระจอม ตัวเป็นเจ้า ตาเป็นเจ๊ก อย่างนี้เป็นต้น (ในสมัยนั้นมักจะมีการดูถูกคนจีนที่ชอบทำลุ่มล่ามว่าเป็นเจ๊ก และในสมัยนี้ก็ยังมีการดูถูกกันอยู่)
ส่วนโคตรตระกูลกิติยากรก็มักจะดูถูก และแสดงความรังเกียจในโคตรตระกูลมหิดลเช่นกัน โดยดูถูกว่าเป็นพวก “เจ้าปลายแถว” ทั้งนี้ก็เพราะว่าบิดาของกษัตริย์ภูมิพลที่เป็นลูกกษัตริย์รัชกาลที่ 5 แต่ไปแต่งงานพยาบาลสาวนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ ซึ่งเป็นสามัญชนคนต่างวรรณะ และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเหล่าบรรดาเชื้อพระวงศ์รู้มาว่า นางสาวสังวาล ตะละภัฏ มีเครือญาติอยู่บ้านช่างทอง ซึ่งเป็นชุมชนลาวที่อยู่ทางด้านใต้ของธนบุรีนั้น เป็นชุมชนที่อพยพมาจากนครเวียงจันทน์ ดังนั้น พวกโคตรตระกูลกิติยากร จึงมักดูถูกพระชนนีศรีสังวาลย์ลับหลังว่า “นางลาว”
และถ้าจะนับตามความเชื่อในลัทธิพราหมณ์ ลูกที่เกิดจากคนต่างวรรณะจึงต้องเป็น “จัณฑาล” ด้วยเหตุนี้คน ในวังที่ไม่ชอบโคตรตระกูลมหิดล จึงมักดูถูกอดีตกษัตริย์รัชกาลที่ 8 และกษัตริย์ภูมิพลว่าเป็น “กษัตริย์ชนชั้นจัณฑาล” ซึ่งความเชื่อในลัทธิพราหมณ์ ของคนในวังนั้น ประชาชนไทยก็สามารถเห็นได้ในการประกอบพระราชพิธีต่างๆภายในวัง ที่มีการถ่ายทอดสดทางทีวี ถ้าสังเกตให้ดี เราจะเห็นได้ว่า พระราชพิธีการต่างๆของวังนั้น จะมีพิธีของพราหมณ์นำพุทธอยู่เสมอ ทั้งๆที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ (แต่ในทุกงานพิธีของประชาชนทั่วไป พุทธต้องมาก่อนพราหมณ์เสมอ หรือมีแต่พุทธไม่มีพราหมณ์)
ในทุกพระราชพิธี จะมีพิธีพราหมณ์ นำพิธีพุทธ ก่อนเสมอ |
ลูกกระหรี่ทีปังกร |
ก่อนที่ภูมิพลจะเป็นกษัตริย์จัณฑาล
ย้อนกลับไปในสมัยกษัตริย์รัชกาลที่ 5 บรรดามเหสี ต่างชิงดีชิงเด่น แย่งอำนาจกันในวังหลวง ระหว่างสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา และ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ซึ่งมเหสีทั้งสอง ต่างก็เป็นพี่น้องกัน โดยเป็นลูกของรัชกาลที่ 4 เช่นเดียวกันกับกษัตริย์รัชกาลที่ 5 หรือพูดกันอย่างภาษาชาวบ้านก็คือ รัชกาลที่ 5 เอาทั้งพี่สาวและน้องสาวต่างมารดาของตัวเองมา ทำเมีย
(ซึ่งในเรื่องนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า สังคมทั่วไปของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ที่มีศีลธรรมขั้นพื้นฐาน เขาจะไม่เอา น้องสาวของตัวเองมาเป็นเมีย เพราะการกระทำเช่นนั้น มันเป็นพฤติกรรมของสัตว์เดรัจฉาน หรือสุนัขที่ไร้ยางอายและไร้จิตสำนึกทางศีลธรรม)
กษัตริย์รัชกาลที่ 5 ผสมพันธ์กับพี่-น้องตัวเอง (ไร้ยางอายเยี่ยงสุนัข) |
และจากการที่รัชกาลที่ 5
เอาทั้งพี่และน้องของตัวเองที่ต่างมารดากันมาทำเมียนี้เอง ทำให้ต่อมาหลานของกษัตริย์ภูมิพลคือ
พลอยไพลิน เจนเซ่น เอาเป็นแบบอย่าง และทำได้เลวยิ่งกว่าบรรพบุรุษของตัวเองเสียอีก
คือผสมพันธ์กับน้องชายตนเอง คือ พุ่ม เจนเซ่น ทั้งที่มีพ่อแม่เดียวกัน
ไร้ยางอายยิ่งกว่าบรรพบุรุษ (พลอย-พุ่ม เจนเซ่น) (รูปหน้าพุ่ม ดูเงาในกระจก) |
ซึ่ง ณ เวลาในขณะนั้น พระนางเจ้าสว่างวัฒนา
ซึ่งเป็นมเหสีเอก มีอำนาจในวังหลวงมาก เพราะลูกของพระ นาง คือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ คือผู้ที่จะได้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป แต่ต่อมาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ได้ตายลงในขณะที่มีอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น
จึงทำให้ลูกของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี น้องสาว ซึ่งเป็นมเหสีองค์รอง คือเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ได้ขึ้นมาเป็นพระบรมโอรสาธิราชแทน ซึ่งต่อมา เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ก็ได้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 6 จึงทำให้เจ้าสายเสาวภาผ่องศรี พลิกกลับขึ้นมามีอำนาจในวังหลวง แทนที่เจ้าสายสว่างวัฒนา
เมื่อสถานการณ์พลิกผันเป็นเช่นนี้ จึงทำให้ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พยายามผลักดันให้ลูกคนเล็ก คือสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม (ต้นตระกูลมหิดล ซึ่งเป็นบิดารัชกาลที่ 8 และ 9) ไปศึกษาในต่างประเทศ เพราะเกรงภัยอันที่จะเกิดจากการเป็น”คู่แข่งในราชบัลลังก์”ของเจ้าฟ้ามหาวิราวุธ ซึ่งเป็นลูกของน้องสาวพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี
ถึงต่อมาสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม จะเรียนจบวิชาการทหาร และเสด็จกลับเมืองไทยมารับราชการในกองทัพเรือ โดยที่เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธได้ขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 6 ไปแล้วก็ตาม แต่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม ก็ยังถูกกีดกันโดยพวกเจ้าสายเสาวภาผ่องศรี โดยเกิดการขัดแย้งกับทหารชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นคนของ รัชกาลที่ 6 ภายในกองทัพเรือ จนทำให้สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม เกิดความท้อใจ จึงลาออกจากกองทัพ และกลับไปเรียนทางการแพทย์ต่อในต่างประเทศ เมื่อเรียนจบ กลับมาเมืองไทยอีกครั้ง ก็ป่วยจนต้องตายภายในวังสระปทุม ในปีพศ. 2472
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ครอบครัวของกษัตริย์ภูมิพล ไม่สามารถใช้อำนาจ ในการแสวงหาทรัพย์มาตั้งแต่รุ่นพระบิดา โดยได้รับเพียงเงินที่ราชสำนักกษัตริย์ให้เป็นค่าใช้จ่ายเท่านั้น และต่อมา เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 ถึงแม้ว่าคณะราษฎรจะมีค่าใช้จ่ายให้เชื้อสายมหิดลสมกับฐานะก็ตาม แต่ก็ไม่ค่อยเป็นที่ พอเพียง ของอนุชาภูมิพล โดยมีอยู่ครั้งหนึ่งในขณะที่กำลังเรียนอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ อนุชาภูมิพลไม่ค่อยเป็นที่พอพระทัย ในห้องนอนของตัวเอง เพราะมีขนาดเล็กกว่าห้องนอนของพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล อนุชาภูมิพลจึงขอให้แม่เขียนจดหมายขอค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม มายังท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น เพื่อที่จะเอาเงินมาหาบ้านใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม ซึ่งท่านปรีดี ก็จัดให้ตามคำขอ
ด้วยเหตุนี้อนุชาภูมิพลจึงไม่มีความ พอเพียง มาตั้งแต่เด็ก
สรุปว่า..ครอบครัวมหิดลเป็นเจ้าปลายแถวชนชั้น”จัณฑาล”ที่ตกยาก
ไม่ได้มีเงินต้นทุนสะสมใดๆมาตั้งแต่แรก
เมื่อเหตุการณ์ผันแปร
ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 6 ตาย จึงทำให้เจ้าฟ้าประชาธิปก ซึ่งเป็นน้องคนสุดท้องของรัชกาลที่ 6 และเป็นลูกชายคนสุดท้ายของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 7 และเป็นกษัตริย์ได้เพียง 7 ปี ก็ถูกคณะราษฎรปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในปี 2475
ต่อมาในปี 2476 รัชกาลที่ 7 ได้ให้เงินสนับสนุนพระองค์เจ้าบวรเดช เพื่อยึดอำนาจคืนมาจากคณะราษฎร แต่ก็กระทำการไม่สำเร็จ ทำให้พระองค์เจ้าบวรเดชต้องกลายเป็นเป็นกบฏ ฯลฯ
พระองค์เจ้าบวรเดช |
และถึงแม้ว่า กษัตริย์ประชาธิปกจะหนีไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ละความพยายาม ที่จะชิงอำนาจคืน โดยติดต่อผ่านผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้แจ้งกับคณะราษฎร โดยต่อรองว่า ให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยต้องการให้ กฎหมายใดๆที่กษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยต้องเป็นอันตกไป และสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอร่างกฎหมายนั้น ต้องถูกยุบ ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ พระองค์จะสละราชบัลลังก์
แต่รัฐบาลและ สมาชิกรัฐสภาไม่อาจยอมทำตามประสงค์นั้นได้ รัฐบาลจึงตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อให้เดินทางไปไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎร ณ ขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมกับพลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์) และนายดิเรก ชัยนาม เดินทางไปเข้าเฝ้าฯ ที่ประเทศอังกฤษ โดยพยายามพูดไม่ให้พระองค์สละราชบัลลังก์ และกราบบังคมทูลขอร้องให้พระองค์เสด็จกลับประเทศไทย ไปเป็นกษัตริย์ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่การเจรจาก็ไม่เป็นผลสำเร็จ
ในที่สุดรัชกาลที่ 7 ก็เกิดความท้อใจ ที่ไม่สามารถกลับมาเป็นกษัตริย์ใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้อีก จึงตัดสินใจ สละราชบัลลังก์ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (คศ.1934)
และต่อมาถึงแม้ว่าอดีตกษัตริย์รัชกาลที่ 7 จะสละราชบัลลังก์ไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความพยายามที่จะชิงอำนาจคืนจากคณะราษฎร โดยมีหลักฐานในความพยายามดังนี้.-
ฝากความหวังในการชิงบัลลังก์ครั้งสุดท้ายกับจอมเผด็จการฮิตเลอร์
ในวันที่ 13 กรกฎาคม พศ.2477 (คศ.1934) อดีตกษัตริย์รัชกาลที่ 7 ทั้งที่ได้ประกาศสละราชบัลลังก์ไปแล้ว แต่ก็ยังใช้ใช้สถานของกษัตริย์ไปขอเข้าพบจอมเผด็จการฮิตเลอร์ ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ซึ่งห่างจากวันที่ได้สละราชบัลลังก์ไปแล้วกว่า 4 เดือน
ใช้สถานะกษัตริย์เยือนฮิตเลอร์ ทั้งที่สละราชบัลลังก์ไปแล้ว |
แต่การไปพบฮิตเลอร์ในครั้งนั้น สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในทวีปยุโรปกำลังทวีความรุนแรง และอยู่ในช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นาน ซึ่งฮิตเลอร์อาจจะคิดว่า ประเทศสยามอยู่ไกล และในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ฮิตเลอร์ก็มีมหามิตรอย่างประเทศญี่ปุ่นดูแลทางนี้อยู่แล้ว
ดังนั้นจอมเผด็จการฮิตเลอร์ จึงแค่ให้การต้อนรับรัชกาลที่ 7 อย่างสมพระเกียรติในฐานะกษัตริย์เท่านั้น ซึ่งต่อมาก็ไม่ปรากฏหลักฐานใดๆที่จะชี้ว่า ฮิตเลอร์ ได้ตอบสนองความต้องการของอดีตกษัตริย์ประชาธิปก แต่อย่างใด )
.... มีต่อตอนที่ 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น