สถาบันกษัตริย์กับการค้ายาเสพติด
บทความโดย พิษณุ พรหมสร Anti
เผยแพร่ครั้งแรก 30 กรกฎาคม 2557 ในชื่อหัวข้อ
”เส้นทางยาเสพติดของลุงสมชาย”
แก้ไขอัพเดทเพิ่มเติมครั้งที่1 -
12 กันยายน 2560 ในชื่อหัวข้อ
“สถาบันกษัตริย์กับการค้ายาเสพติด”
การเมืองในสยามประเทศ
1. ให้สถาบันกษัตริย์ยังคงอยู่ในประเทศไทย แต่กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และ
2. ต้องค้นหาเชื้อสายเจ้าที่ไม่มีอิทธิพลในทางการเมืองมาเป็นกษัตริย์
ซึ่งก่อนที่จะมีผลสรุปทั้ง 2 ประเด็น มีเบื้องหลังดังนี้.-
เบื้องหลังในประเด็นแรก.. เสียงส่วนใหญ่ในตอนแรก ต้องการที่จะให้ล้มเลิกสถาบันกษัตริย์ไปเลย แต่ท่านปรีดี พนมยงค์ ไม่เห็นด้วย ทำให้คณะราษฎรหลายคน ณ เวลานั้น ทั้งไม่อาจขัดใจ และเกรงใจท่านปรีดี พนมยงค์ ที่ยังไม่ต้องการให้ล้มเลิกสถาบันกษัตริย์ ดังนั้นในที่ประชุม จึงสรุปว่าให้คงมีสถาบันกษัตริย์อยู่ต่อไป
ปรีดี พนมยงค์ |
เบื้องหลังในประเด็นที่สอง.. จากการที่คณะราษฎรมีโจทย์ว่า
จะต้องทำการคัดเลือกเชื่อสายเจ้าที่ไม่มีอิทธิพลทางการเมืองมาเป็นกษัตริย์นั้น
ซึ่งมีเบื้องหลังคือในช่วงแรก ได้มีบรรดาเชื้อพระวงศ์ที่ยังคงมีอิทธิพล เสนอให้ จอมพล
จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นลูกของรัชกาลที่ 5 ให้มาเป็นกษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต |
แต่คณะราษฎรซึ่งมีโจทย์อยู่แล้ว เห็นว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ยังคงมีมีอำนาจทางการเมืองในขณะนั้นมาก
เพราะเคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหาร เช่น ตำแหน่งเสนาธิการทหารบก
ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เสนาธิการทหารบก
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และยังเคยเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
และดำรงตำแหน่งองคมนตรี ทั้งรัชกาลที่ 6 และ 7 มาก่อน
ดังนั้น คณะราษฎร์จึงปฏิเสธข้อเสนอของเหล่าบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่ไปคัดเลือก พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าสายสว่างวัฒนามาแทน ทั้งๆที่ในช่วงนั้น พวกเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงจะต่อต้าน และดูถูกลูกของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม คือพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ว่าเป็น “เจ้าปลายแถว” เพราะมีแม่คือพระชนนีศรีสังวาลเป็นสามัญชนไม่มีเลือดสีน้ำเงินของชนชั้นกษัตริย์ และตามความเชื่อในลัทธิพราหมณ์ของพวกเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง ยังดูถูกลูกของชนนีศรีสังวาลอีกว่า เป็น”จัณฑาล”
ซึ่งต่างกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งมีเลีอดสีน้ำเงินเข้มเพราะเป็นลูกของรัชกาลที่ 5 โดยตรง และมีมารดาที่เป็นลูกของรัชกาลที่ 4 โดยตรงอีกเช่นกัน คือสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี ซึ่งพวกเชื้อพระวงศ์จะถือว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต มีสายเลือดกษัตริย์สีน้ำเงินที่เข้มข้นกว่าเจ้าปลายแถวที่มาจากตระกูลมหิดล
แต่ในที่สุด คณะราษฎรก็ตัดสินใจเลือกเจ้าปลายแถวพระองค์เจ้าอนันทมหิดลให้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ และถือได้ว่าการตัดสินใจในครั้งนั้น ของท่านปรีดีและคณะราษฎรถูกต้อง เพราะว่าต่อมาพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงมีแนวคิด ที่ยินยอมเป็นกษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ตามคำแนะนำของนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ในหลวงรัชกาลที่ 8 |
เจ้าปลายแถวคนที่ 2 ฆ่าพี่ชิงบัลลังก์
แต่แล้ว..สถานการณ์ก็พลิกผันอีกครั้ง เพราะในครั้งนั้น ใครจะไปคิดว่า อนุชาภูมิพล ซึ่งตอนนั้นอายุ 19 ปี และกำลังมีความคึกคะนอง บวกกับความริษยาอยากขึ้นเป็นกษัตริย์เสียเอง ดังนั้นในช่วงเช้า ของวันที่ 9 มิถุนายน 2489 อนุชาภูมิพล จึงได้ลั่นไกปืน สังหารในหลวงรัชกาลที่ 8 บนแท่นพระบรรทม ภายในพระบรมมหาราชวัง
อนุชาภูมิพล ฆ่าพี่ชิงบัลลังก์ |
เบื้องหลังการช่วยเหลือฆาตกร
แต่หลังจาก รัชกาลที่ 8 ถูกฆาตกรรมแล้ว ได้มีพี่-น้องในราชสกุลปราโมช คือ มรว.เสนีย์ ปราโมช และ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช และราชนิกุลบางส่วน มีความเห็นว่า มีแนวโน้มที่ภูมิพลจะไม่รอดในคดีสวรรคต
มรว.เสนีย์ ปราโมช มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช |
พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต |
ช่วยเหลือฆาตกรให้ขึ้นเป็นกษัตริย์
แต่คณะราษฎร อันมีนายปรีดี พนมยงค์ และจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ที่กำลังมีอำนาจอยู่ในขณะนั้น มีความเห็นว่า สมควรที่จะสนับสนุนภูมิพล เพราะอายุยังน้อยเพียง 19 ปี โดยที่ยังไม่มีบริวารและอิทธิพลมากนัก
แต่ถ้าให้ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็จะเป็นอันตราย เพราะมีอิทธิพลมาก ดังนั้นทั้งนายปรีดี พนมยงค์ และจอมพล ป.จึงต้องสกัดพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรฯ โดยให้การช่วยเหลืออนุชาภูมิพลให้หลุดพ้นจากคดีฆ่าในหลวงรัชกาลที่ 8 ให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆก็ตาม
ดังนั้นในช่วงค่ำเวลา 21.00 น.ของวันที่ 9 มิถุนายน 2489 รัฐสภา จึงมีมติในที่ประชุมให้อัญเชิญอนุชาภูมิ พลขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 9
และหลังจากนั้นอีก 7 วัน ในวันที่ 16 มิถุนายน 2489 ก็มีการแต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร |
ภูมิพลร้อนตัวจนต้องหนีการสอบสวน
ถึงแม้ว่าอนุชาภูมิพลได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ไปแล้วก็ตาม แต่การสอบสวนหาผู้กระทำผิดในคดีลอบปลงพระชนม์ ในหลวงรัชกาลที่ 8 ก็ยังมีการดำเนินการต่อไป
ซึ่งหลังจากเกิดกรณีปลงพระชนม์ ได้ประมาณ 1 เดือน กษัตริย์ภูมิพลก็มีอาการร้อนตัว จากที่เคยเป็นคนร่า เริงก็เริ่มเป็นคนเครียด และ มีอาการร้อนรุ่ม จนภูมิพลต้องไปปรึกษากับพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ให้หาทาง หลบจากคดี ที่กำลังสอบสวนอย่างเข้มข้น โดยจะอ้างกับรัฐบาลว่าจะไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
จากนั้นจึงได้มีการติดต่อไปยังทูตอังกฤษว่าจะขอไป ศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ (โดยพระองค์เจ้ารังสิตประยูร ศักดิ์ ฯ ให้คำแนะนำกับภูมิพลในตอนนั้นว่า ถ้ามหาอำนาจอังกฤษยอมให้ไปศึกษาต่อ ก็จะเป็นการประกันอีก ชั้นหนึ่งว่าภูมิพลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฆาตกรรมในหลวงอนันต์)
แต่เมื่อหนังสือจากทูตอังกฤษได้ถึงมือ พระเจ้าจอร์จที่ 6 กษัตริย์อังกฤษในขณะนั้น (ซึ่งท่านเป็นบิดาของราชินีอลิซาเบทในปัจจุบัน)
พระเจ้าจอร์จ ที่ 6 |
พระองค์จึงเรียกเอิร์ลแบทเต็นมาถาม (ซึ่งในขณะนั้น ท่านเอิร์ล หลุยส์ เมาท์แบตเตน เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทหารสัมพันธ์มิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้ที่ อังกฤษส่งไปดูแลพม่า และท่านมีความรักและสนิทสนมกับในหลวงรัชกาลที่ 8 มาก)
ท่านเอิร์ล หลุย เมาท์แบทเต็น |
ซึ่งหลังจากทราบคำบอกเล่าจากท่านเอิร์ลแบทเต็นแล้วว่า
อนุชาภูมิพลเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆ่าในหลวงรัชกาลที่ 8
พระเจ้าจอร์จที่ 6 จึงบอกให้ท่านเอิร์ลแบทเต็น ไปบอกทูตอังกฤษให้ตอบกลับไปว่า
“ให้มันไปเคลียร์คดีฆาตกรรมพี่ชายของมันให้ได้เสียก่อนค่อยว่ากัน”
เมื่อถูกปฏิเสธ ภูมิพลจึงจำใจต้องกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ และอยู่ในสวิสเซอร์แลนด์ โดยที่ไม่ได้ กลับไปเรียนหนังสือต่อ จนกระทั่งในวันที่ 4 ตุลาคม 2491 ในเวลาประมาณ 4 ทุ่ม ภูมิพลขับรถเฟียตโทโปลิโนสปอร์ต (Fiat Topolino Sport) แข่งกับพันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ซึ่งเป็นพี่เขยและเป็นผัวคนแรกของพระพี่นาง แต่พลาดท่าไปชนท้ายรถบรรทุกบน ทางด่วนเจนีวา-โลซานนอกเมืองโลซานน์ ราวสิบกิโลเมตร ทำให้เศษกระจกรถที่แตกกระเด็นเข้าใส่นัยน์ตา จนทำให้ตาข้างขวาบอด
Fiat Topolino Sport |
ย้อนกลับมาประเทศไทย ซึ่งในช่วงเวลานั้น ได้มีการทำลายหลักฐานหลายอย่างในคดีสังหารในหลวงรัชกาลที่
8
ไปแล้ว ส่วนแพะอีก3 คน คือนายชิต นายบุศย์
นายเฉลียวก็อยู่ในคุก รอการประหาร เมื่อภูมิพลรักษาตัวหายแล้ว ทางโล่งสะดวกภูมิพลก็กลับประเทศไทยพร้อมกับคู่หมั้น
มรว.สิริกิติ์ กิติยากร โดยกลับมาประเทศไทยในปี 2493 เพื่อประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส..
จากจุดนั้นภูมิพลได้เริ่มสร้างฐานอำนาจทางการเมือง
ทำลายหลักฐาน สร้างพยานเท็จ |
ภูมิพลเริ่มสร้างฐานอำนาจ
การกลับมาประเทศไทยในช่วงเวลานั้น นับว่าเป็นจังหวะที่ดี เพราะถึงแม้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเพ่งยุติลงไปแล้วก็ตาม แต่ ภัยอันตรายใหม่ของโลกเสรี คือลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่กำลังแผ่ขยายเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทำให้สหรัฐอเมริกาผู้นำแห่งโลกเสรี จำเป็นต้องหาผู้นำที่จะมาต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ใน ประเทศไทย เพราะประเทศในแถบนี้หลายประเทศได้ถูกลัทธิคอมมิวนิสต์ครองงำไปแล้ว เช่น เวียดนาม ลาว พม่า และกำพูชา
ดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงจำเป็นต้องให้การ สนับสนุนกษัตริย์ภูมิพล เพื่อให้เป็นจุดศูนย์รวมใจของชาวไทย ไม่ให้ไปฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของรูปภูมิพลที่มีอยู่ทุกบ้าน ในทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ทุก ตำบล ทุกหมู่บ้าน ในประเทศไทย
เมื่อมีมหาอำนาจอเมริกาให้การสนับสนุน กษัตริย์ฆาตกรจึงติดปีก
ก้าวแรกที่กษัตริย์ภูมิพลเริ่มสร้างฐานอำนาจทางการเมือง คือความพยายาม ที่จะไม่ยอมเป็นกษัตริย์ภายใต้ กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยภูมิพลมีหลากหลายวิธีการเช่น.- การใช้โครงการหลวง และโครงการพระราชดำริ มาบัง หน้า เพื่อสร้างภาพ และเอามาเป็นข้ออ้างกับรัฐบาลจอมพล ป. เพื่อขอเดินทางไปดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน ทั่วประเทศ
แต่ในช่วงที่จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านจะอนุญาตให้กษัตริย์ภูมิพลเดินทางไปเยี่ยมพบประชาชนได้ไกลสุดจากกรุงเทพฯ เพียงแค่โครงการหุบกะพง ในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีเท่านั้น เพราะการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ “กษัตริย์จะทะลึ่งมาอ้างว่าขอไป ดูแลประชาชน โดยทำงานแข่งกับรัฐบาลไม่ได้ ”
โครงการหุบกะพง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี |
ด้วยเหตุนี้กษัตริย์ภูมิพลจึงมีความแค้นต่อจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม
เป็นสองเท่า เพราะหนึ่งนั้นแค้นที่ จอมพล ป. เป็นหนึ่งในคณะราษฎรที่ร่วมกับปรีดี
พนมยงค์ โค่นล้มระบอบกษัตริย์ และสอง คือแค้นที่ขัดขวางการสร้างฐานอำนาจของระบอบกษัตริย์
เมื่อถูกจอมพล ป. ขัดขวาง กษัตริย์ภูมิพลจึงเริ่มใช้แผนยุทธศาสตร์แบ่งแยกแล้วปกครอง โดยหันไปให้ความสนับสนุน จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายทหารอีกขั้วหนึ่งในกองทัพบก ซึ่งต่อมาโดยการสนับสนุนของภูมิพล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็สามารถยึดอำนาจการปกครองจากจอมพล ป. พิบูลย์สงครามได้สำเร็จ
ซึ่งการยึดอำนาจในครั้งนั้นสหรัฐอเมริกาก็เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลัง เพราะสหรัฐอเมริกาถึงแม้ว่าจะเป็นผู้นำในโลกเสรีประชาธิปไตย แต่ภัยในการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น มีความสำคัญยิ่งกว่า ด้วยเหตุนี้อเมริกาจึงสนับสนุนการรัฐประหารของกษัตริย์ภูมิพล
และการยึดอำนาจในครั้งนั้น กษัตริย์ภูมิพลย่ามใจถึงขนาดจงใจทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยไม่กลัวเกรง โดยเป็นผู้ลงนามในคำสั่งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนคร ทั้งที่ไม่มีผู้สนองพระบรมราชโองการ ซึ่งมีหลักฐานดังต่อไปนี้.-
ประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
โดยมีคำประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๔/ตอนที่ ๓๖/ฉบับพิเศษ/หน้า ๑/๑๖ กันยายน ๒๕๐๐
ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐
โดย:
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ไม่มีผู้รับสนองฯ)
ประกาศพระบรมราชโองการ
แต่งตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
เนื่องด้วยปรากฏว่า รัฐบาลอันมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้บริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ทั้งไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ คณะทหารซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองไว้ได้ และทำหน้าที่เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ข้าพเจ้าจึงขอตั้งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ขอให้ประชาชนทั้งหลายจงอยู่ในความสงบ และให้ข้าราชการทุกฝ่ายฟังคำสั่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พุทธศักราช
๒๕๐๐
กษัตริย์ภูมิพลสนับสนุนจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหาร จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม |
และในช่วงที่ภูมิพลสนับสนุนให้จอมพลสฤษดิ์ ขึ้นเถลิงอำนาจนั้นเอง ภูมิพลได้อาศัยอำนาจเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ ทวงคืนทรัพย์สินของสถาบันกษัตริย์ ที่ถูกรัฐบาลคณะราษฎรยึดไปหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 กลับคืนมาได้เกือบทั้งหมด นอกจากนี้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยังได้ตั้งงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาที่ภูมิพลมีพระราชดำริริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ในชื่อโครงการหลวง
และนี่คือก้าวแรกในการรุกคืบเพื่อสร้างฐานอำนาจของกษัตริย์ภูมิพล
... มีต่อตอนที่ 3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น