วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

บทความ: สถาบันกษัตริย์กับการค้ายาเสพติด ตอนที่ 6 ยาเสพติด ขบวนการมาลีปา เส้นทางที่ 1 ยึดพื้นที่ดอยตุง



                                                 สถาบันกษัตริย์กับการค้ายาเสพติด    



บทความโดย พิษณุ พรหมสร Anti

เผยแพร่ครั้งแรก                    30 กรกฎาคม 2557  ในชื่อหัวข้อ ”เส้นทางยาเสพติดของลุงสมชาย”   

แก้ไขอัพเดทเพิ่มเติมครั้งที่1.... 12  กันยายน 2560   ในชื่อหัวข้อ “สถาบันกษัตริย์กับการค้ายาเสพติด”


                                                           ตอนที่ 6                                 
   
                           ยาเสพติด ขบวนการมาลีปา เส้นทางที่ 1 ยึดพื้นที่ดอยตุง

        ยาเสพติดในเส้นทางที่ 1 นี้ เข้ามาทาง ดอยตุง และวัดพระธาตุผาเงา และเส้นทางในการนำเข้าจากกลุ่มโกกั้ง ที่เข้ามาสู่ประเทศไทยนั้น มีชื่อเรียกว่า “เส้นทางมาลีปา”  โดยทั้งหมดมี 4 เส้นทาง และทั้ง 4 เส้นทางล้วนมีความเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด ของครอบครัว และเครือข่าย กษัตริย์ภูมิพลทั้งสิ้น

     โดยใน 2 เส้นทางแรก ผลประโยชน์จะตกอยู่กับสถาบันกษัตริย์ ส่วนเส้นทางที่ 3 และเส้นทางที่ 4 ทางวังจะเป็นผู้จัดสรร มอบผลประโยชน์ให้กับนายทหารสายราชสำนัก โดยเฉพาะกลุ่มจงรักภักดีสายราชนิกุล จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ควบคุมกองทัพภาค3เพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่กองกำลังความมั่นคงแห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใหม่ ด้วยการควบคุมภาคเหนือตอนบนที่มีผลประโยชน์และความจงรักภักดีเป็นเงื่อนไข ซึ่งรวมทั้ง นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ และตำรวจภูธร ภาค 5 และเครือข่ายของพวกเขาด้วย

                               ยึดดอยตุงเพื่อให้เป็นทั้งทางผ่านและเป็นแหล่งผลิตยาเสพติด 

ฉากหน้าคือสถานที่ท่องเที่ยว
          พื้นที่ในโครงการดอยตุงคิดเป็นเนื้อที่มากมายถึง 93,515 ไร่  โดยทางวังอ้างว่าปัญหาของพื้นที่ดอยตุง  ส่วนใหญ่เกิดจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของชาวไทยภูเขา โดยการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่นบริเวณใกล้ชายแดน  พูดกันตรงๆก็คือวังจะใช้เป็นข้ออ้าง เพื่อที่จะยึดที่ดินของชาวเขา

      ซึ่งวิธีการของวังในการแย่งที่ทำกินของขาวเขาบนภูดอยต่างๆที่มีชนเผ่าต่างๆอาศัยอยู่นั้น ทางวังจะบงการรัฐบาลให้ใช้อำนาจเพียงแค่การออกมติของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น และมติของคณะรัฐมนตรีที่ออกมายึดที่ทำกินของชาวเขามากที่สุด ก็คือมติคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ฉากหลังคือทางผ่าน และแหล่งผลิตยาเสพติด

            และนอกจากยาเสพติดที่นำมาจากกลุ่มโกกั้งแล้ว ในพื้นที่ดอยตุงก็ยังมีการปลูกฝิ่นอีกด้วย  ซึ่งผู้ที่ดูแลโครงการดอยตุง และเป็นเลขาสมเด็จย่าคือ มรว.ดิษนัดดา ดิษกุล  โดยใช้โครงการพัฒนาดอยตุง - โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติบังหน้า  และดำเนินการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

มรว.ดิษนัดดา ดิษกุล

       เส้นทางที่ 1 กลุ่มโกกั้งจะนำ ฝิ่นดิบ-มอร์ฟีน-เฮโรอีน-ยาบ้า ฯลฯ เข้ามาทาง ดอยตุง และวัดพระธาตุผาเงา ในเส้นทางสายนี้ กษัตริย์ภูมิพลจัดวางให้กองกำลังตำรวจตระเวนชายแดนเป็นผู้คุ้มครองดูแล ซึ่งในอดีต สถานที่พักยาเสพติดจากกลุ่มโกกั้ง ก่อนลำเลียงเข้าสู่ดอยตุงคือวัดพระธาตุผาเงา ที่อยู่ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

     โดยพระส่วนหนึ่งในวัดพระธาตุผาเงา จะถูกส่งไปจากวัดบวรนิเวศน์วิหาร ซึ่งจะมีหน้าที่ดูแลยาเสพติดที่ส่งมาจากพวกโกกั้ง และวัดนี้เป็นวัดที่วังให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยทุกครั้งที่ครอบครัวกษัตริย์ภูมิพลจะมาที่ดอยตุงทุกคนก็จะแวะมาที่วัดพระธาตุผาเงานี้ด้วยเสมอ และที่สำคัญ  เหว่ย เซี๊ย กัง ที่เป็นเครือข่ายในการค้ายาเสพติดกับกษัตริย์ภูมิพล ได้ส่งให้เมียน้อยมาสร้างบ้านติดกับวัดพระธาตุผาเงา ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการประสานงาน


วัดพระธาตุผาเงา
หมายเหตุ.. หลังจากที่บทความนี้ได้เผยแพร่ออกไปในครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 ทำให้การขนยาเสพติดของกลุ่ม เหว่ย เซี๊ย กัง ที่นำมาพักไว้ที่วัดนี้ ได้ถูกเปลี่ยนไปยังสถานที่อื่น


                   “เหว่ย เซี๊ย กัง และเจ้ายอดศึก คือพ่อค้ายาเสพติดในพระบรมราชูปถัมภ์”

เหว่ย เซี๊ย กัง หนึ่งในผู้นำกองทัพว้า

     เหว่ย เซี๊ย กัง เริ่มเคลื่อนไหวเรื่องยาเสพติดตั้งแต่ปี 2524 โดยทำงานร่วมขบวนการกับ จาง ซี ฟู หรือ ขุนส่า ราชายาเสพติดโลกในขณะนั้น แต่ต่อมาได้ยักยอกเงินของขุนส่า 50 ล้านบาท แล้วหลบหนีไปยังสหรัฐ จนปี 2528 จึงได้กลับมาร่วมค้ายาเสพติดกับ นายอ้าย แซว สือ, นางหลี อี้ ชิง และกลุ่มก๊ก มิน ตั๋ง (กองพล 93)ในส่วนของ นายพลหลี่ เหวิน ฟาน

    หลังจากนั้น ตระกูลเหว่ยได้ให้การสนับสนุนเงินกับว้าแดง เพื่อหวังเปิดศึกชิงพื้นที่กับขุนส่าตามแนวชายแดนด้าน จ.เชียงใหม่ และนำอดีตกลุ่มคอมมิวนิสต์พม่า (บีซีพี) เปิดเส้นทางค้ายาเสพติดในรัฐฉานตอนใต้ ทำให้พี่น้องตระกูลเหว่ยเข้มแข็งและมีอำนาจมากในกลุ่มว้าแดง                                                              

       เหว่ย เซียะ กัง มีชื่อจีนว่า ไซเซ็ง แซ่เหว่ย มีบัตรประชาชนไทยชื่อ ประสิทธิ์ ชีวินนิติปัญญา หรือ ชาญชัย ชีวินนิติปัญญา หรือ สุชาติ พันธ์เลิศกุล ในสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่า อยู่บ้านเลขที่ 270 ซอยเทียมร่วมมิตร ห้วยขวาง กรุงเทพฯ และบ้านเลขที่ 402 ซอยสุขเกษม ถนนเชียงใหม่-ลำปาง ต.ป่าต้น อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พฤติกรรมก่อนหน้านี้คือเป็นนายหน้าค้ายาเสพติดในประเทศไทย

       นักค้ายารายนี้เคยถูก ป.ป.ส. และตำรวจ กก.ป. 7 ป. จับกุมได้ที่หมู่บ้านโชตนานิเวศน์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในข้อหามี เฮโรอีน หรือ ผงขาว ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย และพยายามส่งออกนอกราชอาณาจักร ตามหมายจับเลขที่ 1000/263 เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2531

       ในขณะที่ เหว่ย เซี๊ย กัง อยู่ในคุก ได้รับความสุขสบายทุกอย่าง มีการสั่งอาหารชั้นดีจากภัตตาคารจีนเข้ามากินในคุกทุกวัน โดยเหว่ย เซี๊ย กังได้ติดสินบน เจ้าหน้าที่เรือนจำทุกระดับชั้น..และเขาก็ได้เขียนจดหมายถึงวัง..

    จากนั้นไม่นาน เหว่ย เซี๊ย กัง ก็ได้รับการประกันตัวในชั้นศาล โดยความช่วยเหลือของนายทหารระดับนายพลคนหนึ่ง และได้ หนีประกันไปในช่วงที่อัยการยื่นอุทธรณ์ต่อศาล ระหว่างการพิจารณาขอให้มีการส่งตัวผู้ร้ายข้าม  แดน เพื่อให้เหว่ย เซียะ กังไปรับโทษที่ประเทศสหรัฐอเมริกา        ต่อมาจึงมีผู้พบเห็นนาย เหว่ย เซี๊ย กัง กลับไปอยู่ในเขตอิทธิพลของตนเองกับพวกว้าแดงในเขตเมืองยอนของพม่า ต่อมาในปี 2548 เหว่ย เซี๊ย กัง ได้มาสร้างคฤหาสน์ด้วยงบก่อสร้าง 1,500 ล้านบาท บนเนินเขาที่มีทัศนียภาพสวยงามในเมืองปางซาง ที่ตั้ง บก.ใหญ่ของกองทัพว้า(UWSA) ออกแบบและ ควบคุมงานโดย วิศวกรชาวไทย โดยหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 6 สิงหาคม 2548 รายงานว่า ระหว่างนี้ นายเหว่ยเซียะ กัง ยังพำนักอยู่ที่บ้านปางปอย ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองปางซาง มี "บังรอน" หรือ นายสุรชัย เงินทองฟู  นักค้ายาเสพติดของไทยหลบหนีไปอยู่ที่บ้าน หลังดังกล่าวด้วย

คฤหาสน์ 1500 ล้าน ของ เหว่ย เซี๊ย กัง
        และนายสุรชัย คนนี้ ในช่วงที่รัฐบาลรัฐบาลทักษิณใช้มาตรการเด็ดขาดในการปราบปรามยาเสพติด ทำให้กลุ่มค้ายาเสพติดและนายสุรชัย ลงขัน ตั้งค่าหัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีถึง 80 ล้านบาท หลังจากคับแค้น ที่รัฐบาลทักษิณใช้มาตรการเด็ดขาด ในการปราบปรามยาเสพติด จนบรรดา นักค้ายาตัวยง พากันหนีหัวซุกหัวซุน แถมถูกยึดทรัพย์กันระนาว ส่วนนายสุรชัยก็ต้องหนีหมายจับ แต่ในที่สุดนายสุรชัยก็ถูกเครือข่ายค้ายาเสพติดของกษัตริย์ภูมิพล ช่วยเหลือให้หนีไปอยู่กับนายเหวย เซี๊ย กัง ที่เมืองยอนได้อีกคนหนึ่ง
        ซึ่งการหลบหนีไปของ เหวย เซี๊ย กัง และนายสุรชัยหรือบังรอนนั้น ไม่มีนักข่าวของไทยคนไหนกล้าที่จะขุดคุ้ยข่าวให้มากไปกว่าเดิม ทั้งที่คนพวกนี้เป็นนักค้ายาเสพติดระดับโลก เพราะวงการนักข่าวไทยรู้กันดีว่า คนพวกนี้ ได้รับการปกป้องจากเครือข่ายอิทธิพลของกษัตริย์ภูมิพล 

  
 
       ต่อมาในปี 2552 มีภาพถ่ายดาวเทียม ถ่ายภาพคฤหาสน์ไปปรากฏตามสื่อต่างๆ ซึ่งอาจเป็นเป้าหมายถูกโจมตีทางอากาศได้ เหว่ย เซียะ กัง จึงขายคฤหาสน์หลังนี้ให้กับ นายเปาโหล่วเหลียง ผู้นำอีกคนหนึ่งของกองทัพว้า
       ซึ่งการหายตัวไปจากคุกของนาย เหว่ย เซี๊ย กัง นั้น ต่อมาอีกหลายปี เมื่อ ร.ต.อ.เฉลิมอยู่บำรุง รองนายกฯ ซึ่งรับผิดชอบงานปราบยาเสพติด ได้เปิดเผยในเดือนกันยายน 2554 ว่า "ทราบจากหลานของ เหว่ย เซียะ กัง ว่า การหลุดพ้นจากโซ่ตรวนครั้งนี้ เหว่ย เซียะ กัง ซื้ออิสรภาพไปด้วยเงินจำนวน 30 ล้านบาท แต่ ร.ต.อ.เฉลิมอยู่บำรุง ก็ไม่กล้าระบุว่าจ่ายให้กับใคร  (เพราะรู้ดีว่าพูดไปก็อันตราย เนื่องจากทหารชั้นนายพลคนที่มาช่วยเหลือ เหว่ย เซี๊ย กัง เป็นคนของวังหลวงจิตลดา)

                อาณาจักรโรงงานยาเสพติด ของกลุ่มพันธมิตรโกกั้งและกลุ่มว้า(เหว่ย เซี๊ย กัง)

      อาณาจักรผลิตยาเสพติดของกลุ่มโกกั้ง กลุ่มว้า และ เหว่ย เซียะ กัง มีโรงงานมากถึง 11 แห่ง ในจำนวนนี้มี 6 แห่งที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ โดยโรงงานตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐฉาน ห่างจากชายแดนจีนไม่มากนัก นอกจากจะผลิตมอร์ฟีน เฮโรอีนแล้ว ยังผลิตทั้งยาไอซ์ ยาอี ยาบ้า ป้อนตลาดโลกได้จำนวนมหาศาล  ส่วนอีก 5 โรงงานอยู่ในพื้นที่ “รัฐฉานตะวันออก”

    ทั้งนี้ ในปัจจุบันโรงงานผลิตยาเสพติดหลักของกลุ่ม เหว่ย เซียะ กัง  มี 11 โรงงาน ในจำนวนนี้อยู่ในพื้นที่เขตปกครองพิเศษของกลุ่ม “ว้าเหนือ” จำนวน 6 โรงงาน มีลักษณะเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ดังนี้.-

โรงงานที่ 1 ตั้งอยู่ที่ม.โหปัง ห่างจากชายแดนจีนไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นของกลุ่มตระกูลเหว่ย เซียะ กัง เน้นผลิต “ยาบ้า” เป็นหลัก
โรงงานที่ 2 ตั้งอยู่ที่ม.ปางเหว่ย ห่างจากชายแดนจีนไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นของกลุ่มเหว่ยเซียะ กัง เน้นผลิต “ยาบ้า” เป็นหลัก
โรงงานที่ 3 ตั้งอยู่ที่ม.เมา ห่างจากชายแดนจีนไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 17 กิโลเมตร เป็นของกลุ่มว้าซึ่งเป็นแนวร่วมพันธมิตรกับกลุ่มเหว่ยเซียะ กัง  เป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุด มีการผลิตแบบครบวงจรทั้งฝิ่น, เฮโรอีน, ยาบ้า
โรงงานที่ 4 ตั้งอยู่ที่ม.ตังยาน อยู่ห่างจากชายแดนจีนไปทางทิศตะวันตกประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นของกลุ่มเหว่ย เซียะ กัง เน้นผลิต “ยาบ้า” เป็นหลัก
โรงงานที่ 5 ตั้งอยู่ที่ม.ปางซาง อยู่ห่างจากชายแดนจีนประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นของกลุ่มตระกูลเปา(เปาหยู่ฉาง, เปาหยู่ยี่) ซึ่งเป็นแนวร่วมพันธมิตรกับกลุ่ม เหว่ย เซี๊ย กัง เช่นเดียวกัน เน้นผลิต “ยาบ้า” เป็นหลัก
โรงงานที่ 6 ตั้งอยู่บ้านสบหลวย อยู่ห่างจากชายแดนจีนไปทางทิศใต้ ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นการขยายฐานการผลิตของ กกล.กลุ่มพันธมิตร ม.ลา ร่วมกับ พงเจียเซิน อดีต ผบ.กกล.กลุ่มโกกั้ง ม.เล่าไก่

     ทั้ง 6 โรงงานสามารถผลิต “หัวเชื้อยาเสพติด” ได้เอง โดยตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา พบหัวเชื้อ 12 กลุ่ม แต่ที่ผลิตอย่างต่อเนื่องมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ X2, X3 และ X6

     และล่าสุดยังคงพบแหล่งผลิตยาเสพติดเพิ่มอีก 1 กลุ่ม คือ X13 ที่ผ่านมาหัวเชื้อที่แพร่ระบาดมาก คือ หัวเชื้อกลุ่ม X2 โดยมาจากแหล่งผลิตของกลุ่มโกกั้งบริเวณเมืองลาเฉียว รัฐฉานเหนือ ส่วนหัวเชื้อกลุ่ม X3 และ X6 มาจากพื้นที่เมืองเล่าไก่ โดยผู้ผลิตน่าจะเป็นกลุ่มโกกั้ง และกลุ่มว้า

       ส่วนพื้นที่ “รัฐฉานตะวันออก” ติดชายแดนภาคเหนือของไทย มี 5 โรงงาน มีลักษณะเป็นโรงงานขนาดเล็ก หากเปรียบเทียบกับโรงงานในพื้นที่รัฐฉานเหนือ โดยจะรับหัวเชื้อจากกลุ่มโรงงานในพื้นที่รัฐฉานเหนือ เพื่อนำมาตอกอัดเม็ดยา แต่ก็สามารถผลิตยาเสพติดชนิดอื่นได้ด้วย
โรงงานที่ 1 แหล่งผลิตกลุ่มขุนน้ำรวก ม.โก เป็นของกลุ่มนายอาซาง และกลุ่มนางสำเภา หรืออาเหม่ย (แดนชุติมาพานิช) อยู่ห่างจาก จ.ท่าขี้เหล็ก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 35 กิโลเมตร มีเนื้อที่สัมปทานปลูกพืชเมือง หนาว 4,000 ไร่ แต่ส่วนใหญ่ใช้ปลูกฝิ่นเพื่อผลิตเฮโรอีน และไอซ์
โรงงานที่ 2 ม.ทาใหม่ ด้านตรงข้าม อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ อยู่ห่างจากชายแดนไทย 20 กิโลเมตร เป็นชุมชนว้า  จีนฮ่อ และโกกั้ง ที่ใหญ่ที่สุดแห่งใหม่อพยพมาจาก 8 เมือง ของรัฐฉานเหนือ แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม แต่กลุ่ม หลักคือ กลุ่มตระกูลหยาง(หยางก่อจง, หยางเฉาฉิ่ง, หยางไอ่ซุง, พล น.775 และพล น.772) มีการผลิตอย่างครบวงจรทั้งเฮโรอีน ไอซ์ และยาบ้า
โรงงานที่ 3 บ.น้ำจ๋าง รัฐฉานใต้ เป็นของกลุ่ม พ.อ.มหาจ่า เป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากชายแดน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 95 กิโลเมตร เป็นแหล่งปลูกฝิ่นและผลิตเฮโรอีนขนาดใหญ่
โรงงานที่ 4 ม.กุนฮิง เหนือ บ.น้ำจ๋าง รัฐฉานใต้ อยู่ห่างจากชายแดน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 115 กิโลเมตร เป็นของกลุ่ม พ.อ.มหาจ่า ที่ย้ายมาจาก บ.หัวเมือง ผลิตเฮโรอีนเป็นหลัก
โรงงานที่ 5 บ.ปูนาโก่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของ ม.ตูม ประมาณ 15 กิโลเมตร อยู่ห่างจากชายแดน อ.แม่ฟ้าหลวง จ. เชียงราย ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 30 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในถ้ำต้นลำห้วยน้ำปุ๋งต๊ะ ซึ่งไหลลงแม่น้ำกก ภายในถ้ำมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังน้ำตก เป็นแหล่งผลิตถาวร ซึ่งผลิตเฮโรอีนมาตั้งแต่สมัย” ขุนส่า”

        นอกจากโรงงานของกลุ่ม เหว่ย เซี๊ย กัง และพวกแนวร่วมซึ่งรวมแล้วมี 11 โรงงานแล้ว ยังมีกลุ่ม ผู้ผลิตรายย่อยอีก 4 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มหงส์ปัง
2.กลุ่มนายจะงอย/จะเงาะ บ.แม่โจ๊ก
3.กลุ่มชาวเขาเผ่าอาข่า และ จีนฮ่อของนายซาเจ๊ะ หรือนายมนตรี พฤษาพันธ์ทวี อดีตผู้ใหญ่บ้านผาหมี อยู่บริเวณภูไฟไหม้

ซาเจ๊ะ หม่อโป๊ะกู่ หรือ นายมนตรี พฤกษาพันธ์ทวี (พ่อค้ายาในข้าพระบาท)
         และ 4.กลุ่ม พ.ท.ยี่เซ หรือนายชัยวัฒน์ พรสกุลไพศาล บ.ปูนาโก่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในฝั่งเพื่อนบ้าน  

พ.ท.ยี่เซ หรือ นายชัยวัฒน์ พรสกุลไพศาล
        เฉพาะในส่วนของยาบ้า โรงงานทั้ง 11 แห่งนี้ มีเครื่องอัดเม็ดยาบ้าขนาด 19 หัวตอก อย่างน้อยโรงงานละ 1 เครื่อง  กำลังผลิตแต่ละเครื่องประมาณ 2 ล้านเม็ดต่อวัน นั่นหมายความว่า ในแต่ละวันโรงงานเหล่านี้จะสามารถผลิตยาบ้าได้สูง ถึง 22 ล้านเม็ดต่อวัน ซึ่งในจำนวนนั้น เกินกว่าครึ่งถูกลำเลียงเข้าสู่ประเทศไทย 
         ทั้งยาเสพติดชนิดอื่นๆและยาบ้าเหล่านี้จะกระจายเข้าไทยโดยผ่านกลุ่มมูเซอ และกลุ่มไทยใหญ่(เจ้ายอดศึก) ซึ่งก็ แน่นอนว่ากลุ่มไทยใหญ่และกลุ่มมูเซอ ได้รับความช่วยเหลือจากทหารไทย ส่วนกลุ่มคาราวานค้ายาเสพติดกลุ่มอื่นๆที่ถูกจับได้จนเป็นข่าวนั้น เพราะไม่ได้มีการประสานผลประโยชน์กับทหารไทย
    ส่วนยาเสพติดชนิดอื่นๆเช่น เฮโรอีน และยาไอซ์ นอกจากนำเข้าไทยแล้ว ยังนำเข้าประเทศจีนเป็นจำนวนมากอีกเช่นกัน

                                           กลุ่มไทใหญ่ที่มีเจ้ายอดศึกเป็นผู้นำ

      กลุ่มนี้ค้ายาเสพติดมาตั้งแต่สมัยขุนส่า(จางซีฟู)เป็นผู้นำ พอมาถึงในปีพ.ศ.2538 กองกำลังไทยใหญ่ของขุนส่า ถูกกองทัพว้าของ เหว่ย เซียะ กัง ร่ามมือกับทหารพม่า รุกตีอย่างหนัก ทำให้สูญเสียไพร่พลและที่มั่นทางทหารจนอ่อนแรงหมดเสถียรภาพทางการทหาร แตกทัพกระจัดกระจาย ต่อมาเมื่อเจ้ายอดศึกสามารถรวมรวมพลเมืองและทหารที่แตกทัพไทใหญ่ให้กลับมาเป็นกองทัพได้แข็งแกร่งมากกว่าเดิม ทำให้เจ้ายอดศึกต้องมองหาที่พึ่งเพื่อป้องกันตัวเองจากการรุมตีจากทหารพม่าและกลุ่มว้าของเหว่ย เซี๊ย กัง
       ดังนั้นเจ้ายอดศึกจึงทำข้อตกลงกับสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลไทย(ที่มีกษัตริย์ภูมิพลอยู่เบื้องหลัง) ว่าจะต้องต่อต้านยาเสพติดโดยไม่หวนกลับไปค้ายาเสพติดอีก แต่นั่นก็เป็นข้อตกลงที่ทั้งกลุ่มไทใหญ่และรัฐบาลไทยมีไว้หลอกลวงสหรัฐอเมริกา แต่ในเบื้องหลังเจ้ายอดศึกแอบค้ายาเสพติดกับสถาบันกษัตริย์และทหารไทยมาโดยตลอด
         ซึ่งเรื่องนี้ผู้เขียนสามารถยืนยันได้ว่ากลุ่มไทใหญ่ของเจ้ายอดศึกและทหารไทยหลอกลวงชาวโลกว่าไม่ได้ค้ายาเสพติด เพราะผู้เขียนได้ไปพบเจอด้วยตนเอง คือในช่วงต้นปี 2544 ผู้เขียนได้เดินทางเข้าไปในกองทัพไทใหญ่กับนายทวีชัย ครุฑใจกล้า เจ้าของเหมืองแร่(ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว) ที่ต้องการเข้าไปทำข้อตกลงกับเจ้ายอดศึกเกี่ยวกับแหล่งแร่ที่อยู่ในเขตอิทธิพลของกล่มไทใหญ่ 

นายทวีชัย ครุฑใจกล้า (ใส่เสื้อฟ้ายืนกลาง)
       ในครั้งนั้นเจ้ายอดศึกได้พาไปดูเฮโรอีนเป็นจำนวนมาก โดยบอกว่ากองทัพไทใหญ่ไม่ได้ค้ายาเสพติด แต่ต่อต้านการค้ายาเสพติด เฮโรอีนที่เห็นนี้ ไปดักซุ่มโจมตี ยึดมาได้จากกองคาราวานกลุ่มว้าของเหว่ย เวี๊ย กัง
         หลังจากนั้นผู้เขียนก็ติดตามคุณทวีชัย ครุฑใจกล้า เข้าไปในหมู่บ้านของกองทัพไทยใหญ่อีกหลายครั้ง แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งผู้เขียนได้พบเห็นคนไทยแต่งชุดธรรมดาประมาณ 4-5 คน เข้ามาในค่ายทหารของไทใหญ่ กำลังรับมอบหีบห่อ หลายหีบห่อกับทหารไทใหญ่ (ต่อมาผู้เขียนจึงรู้ว่าในหีบห่อบรรจุเฮโรอีน และคนไทยที่มารับเป็นทหารไทยที่มาจากกองกำลังผาเมือง) ทำให้ผู้เขียนรู้ตั้งแต่บัดนั้นว่า กลุ่มไทใหญ่แอบค้ายาเสพติดกับทหารไทย

สถาบันกษัตริย์ไทยสร้างภาพร่วมกับเจ้ายอดศึก โดยให้องคมนตรีแจกรางวัลปราบยาเสพติด
       การนำยาเสพติดเข้าทางชายแดนไทยเป็นจำนวนมหาศาลนั้น มันเป็นไปไม่ได้ ถ้ากองพันทหารที่อยู่ติด  แนวชายแดน จะไม่ให้ความร่วมมือ .. และการที่กลุ่มโกกั้ง กลุ่มว้าแดง กลุ่มว้าเหนือ กลุ่มไทใหญ่ ซึ่งชนกลุ่มน้อย  เหล่านี้ ได้ต่อสู้กับทหารพม่ามานาน จึงทำให้พวกเขาต้องการอาวุธเป็นจำนวนมากเพื่อปกป้องตนเอง
     ในเรื่องนี้  รัฐบาลพม่าก็รู้มาตลอดว่า ทหารไทยที่ค้ายาเสพติดร่วมกับชนกลุ่มน้อยตลอดแนวชายแดนมาตลอดนั้น  ก็เป็นคนจัดหาและขายอาวุธให้กับคนกลุ่มน้อยเหล่านี้ด้วย ซึ่งเรื่องนี้บังเอิญที่ผู้เขียนได้ไปรู้จักกับผู้ค้าอาวุธคน หนึ่งในประเทศกำพูชา จึงทำให้รู้ว่าแม้แต่อาวุธในประเทศกำพูชา ที่ตกค้างมาจากยุคสงคราม รวมกับอาวุธในปัจจุบัน ก็ได้มีการลักลอบนำไปขายให้กับทหารไทยด้วย  
      ส่วนพวกกลุ่มว้านั้น ค่อนข้างดีกว่าชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ มีไฟฟ้า และสาธารณูปโภคที่จำเป็น มี  โรงพยาบาล ฯลฯ โดยชนพื้นเมืองว้าปลูกบ้านไม้ชั้นเดียวติดพื้นดิน ส่วนกลุ่มผู้ปกครองเป็นชาวจีน(กลุ่มของเหว่ย เซี๊ย กัง)อาศัยในบ้านก่ออิฐทันสมัย ด้วยชนชั้นปกครองเป็นชาวจีน ชาวว้าจึงรับวัฒนธรรม มาจากจีนเป็นส่วนใหญ่" 
     ส่วนเครื่องสาธารณูปโภคที่จำเป็นทั้งหลายนั้น แน่นอนว่าถูกนำเข้าไปจากไทย และจากสภาพที่พบเห็นใน  ฉากหน้า ขณะที่ทางการไทยเร่งปราบปรามยาเสพติด แต่ในเบื้องหลังทางการไทยกลับเปิดทางให้เครื่องอุปโภค   บริโภคและยุทธภัณฑ์ที่จำเป็นผ่านออกไปขายให้กลุ่มว้า โดยสินค้าส่งผ่านไปทางด่านนักรบชุดดำที่ อ.แม่อาย จ.   เชียงใหม่ (ทหารพรานศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาค3ส่วนแยก1 ที่ กกล.ผาเมือง สังกัดกองทัพภาคที่ 3) ทหารค่ายนี้เป็นทางผ่านทั้งยาเสพติดและสินค้าทุกอย่างที่นำเข้าไปจากไทย

ทหารไทยฉากหน้าปราบยาเสพติด แต่ฉากหลังคุ้มกันขบวนการยาเสพติด
        ซึ่งมันเห็นได้เป็นที่เด่นชัดว่า รัฐบาลไทยสนับสนุนกลุ่มว้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุครัฐบาลนายชวน  หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2538 มีผู้บัญชาการทหารบกชื่อ พล.อ.วิมล วงศ์วานิช แม่ทัพภาค 3 ชื่อ พล.ท.สุรเชษฐ์ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ในยุคนั้น เป็นยุคที่กลุ่มว้าแดงของเหว่ย เซี๊ย กัง กำลังเร่งสร้างเมืองจนเป็นข่าวใหญ่โต ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่ารัฐบาลไทยรู้เห็นเป็นใจและสั่งการให้ไปช่วยว้าสร้างเมือง

กองทัพว้า
       ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ก็มีหลักฐานว่าบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ที่มีกษัตริย์ภูมิพลถือหุ้นใหญ่เป็นเจ้าของ ได้ถูกทหารพม่า(ซึ่งเป็นศตรูกับกลุ่มว้าแดง) สกัดจับรถบรรทุกปูนขนเฮโรอีน 655 ก้อน 232 กก. หากหลุดเข้าไทยราคาจะสูงถึง 700 ล้านบาท โดยทหารพม่าจับได้ที่ จ.ท่าขี้เหล็ก ในประเทศเมียนมาร์ ตรงข้าม อ.แม่สาย จ.เชียงราย สกัดจับได้ก่อนขนเฮโรอีนเข้าไทย

เฮโรอีนของบริษัทในเครือสำนักงานทรัพย์สินส่วนกษัตริย์
 
กษัตริย์รับประกันคุณภาพ



  ..มีต่อตอนที่ 7







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

                                            สิ่งปนเปื้อนในพุทธศาสนา พุทธโควิท บทความโดย: นายพิษณุ พรหมสร เผยแพร่: 4 กุมภาพันธ์ 2566 ถ้าบอกตั...