วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

บทความ: สถาบันกษัตริย์กับการค้ายาเสพติด ตอนที่ 4 แหล่งที่มาของยาเสพติด และการเข้ามาของกองพล 93


                                                  สถาบันกษัตริย์กับการค้ายาเสพติด
       



บทความโดย พิษณุ พรหมสร Anti

เผยแพร่ครั้งแรก                    30 กรกฎาคม 2557  ในชื่อหัวข้อ ”เส้นทางยาเสพติดของลุงสมชาย”   

แก้ไขอัพเดทเพิ่มเติมครั้งที่1.... 12  กันยายน 2560   ในชื่อหัวข้อ “สถาบันกษัตริย์กับการค้ายาเสพติด”


                                                               ตอนที่ 4

                                 แหล่งที่มาของยาเสพติด และการเข้ามาของกองพล 93

       แหล่งผลิตของยาเสพติด และการเข้ามาของกองพล 93 ในทางตอนเหนือของไทย ทั้งสองสิ่งนี้ เป็นมูลเหตุและปัจจัยสำคัญที่ทำให้ครอบครัวภูมิพลสามารถใช้โอกาสและจังหวะ รวมทั้งอิทธิพลของบารมีของตนเอง นำทางเข้าไปสู่ขบวนการค้ายาเสพติดได้อย่างแนบเนียน

       แหล่งผลิตยาเสพติดที่ดีที่สุดของโลก ส่วนใหญ่ถูกผลิตที่เมืองยอน ในรัฐฉานของพม่า ที่มีชายแดนติดกับมณฑลยูนานของจีน พวกนี้ก็คือพวกว้าแดง โดยใช้เมืองยอนเป็นแหล่งผลิต โดยพื้นที่นี้ เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งสภาพดินและลมฟ้าอากาศ ทำให้เหมาะในการการปลูกฝิ่น โดยพวกปลูกฝิ่นจะเรียกตัวเองว่าเป็นพวกโกกั้ง หรือ เจิ้งคัง  เป็นพวกชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในรัฐฉานของพม่า ซึ่งคำว่าโกกั้ง มีความหมายว่า เป็นดินแดนที่มี 9 ดอย หรือมีดอย 9 ยอด มีแม่น้ำธิงหล่อเลี้ยง มีหลายชนเผ่าอาศัยอยู่  ชาวโกกั้งประกอบด้วย คนจีน ลีซอ ละหยู (มูเซอร์) ปะหล่อง อีก้อ (อาข่า อาหนี อยู่ที่เมืองลา) และไต

       ซึ่งในปัจจุบันแหล่งผลิตยาเสพติดได้มีการขยายเป็นวงกว้างในประเทศเพื่อนบ้านและตามแนวชายแดนของ ประเทศไทย ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้.-

       ในประเทศพม่าสถานะของชนกลุ่มน้อยได้ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.กลุ่มที่เจรจาหยุดยิง และ 2.    กลุ่มที่กำลังเจรจา โดยกลุ่มที่ 2 ต้องการความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง    
  
     ในประเทศไทยสถาบันกษัตริย์ต้องการดึงชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่มีอิทธิพลอยู่ตามชายแดนไทย-พม่า เอามา      เป็นพวก เพราะต้องการให้ชนกลุ่มน้อยพวกนี้ทำหน้าที่ เป็น “รัฐกันชน” มาตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมี      กลุ่มใหญ่ๆอยู่ทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่.

  1.กลุ่มโกกั้ง MNDAA (โลซิงฮัน) มีศูนย์กลางอำนาจที่ เมืองลาเฉียว มี นาย เผิงจาเซิง เป็นผู้นำ

เผิงจาเซิง ผู้นำโกกั้ง MNDAA
 2.กลุ่มพันธมิตร เมืองลา NDAA มีเจ้าจายลืน หรือนาย หลิน หมิ่ง เสียน  เป็นผู้นำสูงสุดของกลุ่ม

หลินหมิงเสียน หรือเจ้าจายลึน ผู้นำกลุ่มพันธมิตรโกกั้ง NDAA เมืองลา
 3.กลุ่มว้า UWSA มี 3 พี่น้องของตระกูล เหว่ย เป็นผู้นำ มีศูนย์กลางอำนาจที่ เมืองปางซาง
   (ซึ่งทั้ง 3 กลุ่ม รัฐบาลจีนแอบให้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังโดยส่งทหารมาฝึกอาวุธให้)

เหว่ย เซี๊ย กัง
 4. กลุ่มไทใหญ่ ในอดีตมีขุนส่าหรือ จาง ซี ฟู เป็นผู้นำ แต่ปัจจุบัน เมื่อขุนส่าตกลงสวามิภักดิ์ต่อทางการ พม่า ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 เจ้ายอดศึก ซึ่งเป็นหลานขุ่นส่า จึงขึ้นมาเป็นผู้นำแทน 

 
จางซีฟู หรือ ขุนส่า

        พลโทเจ้ายอดศึกเป็นผู้นำกองทัพรัฐฉานภาคใต้ (Shan State Army - South (ชื่อย่อ : SSA)ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน(R.C.S.S.) เป็นหัวหน้ากองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ต่อต้านกองทัพพม่าจนถึงปัจจุบัน

เจ้ายอดศึก
    (กลุ่มไทใหญ่มีสหรัฐอเมริกาโดยCIAและรัฐบาลไทยให้การสนับสนุน แต่ในขณะเดียวกัน ตั้งแต่กษัตริย์ภูมิพลมีความคิดที่จะค้ายาเสพติดจึงใช้ให้ทหารไทยแอบให้การสนับสนุน ทั้งยังแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ และค้ายาเสพติดร่วมกับกลุ่มว้าของพวกตระกูลเหว่ย เซี๊ย กัง ด้วย)
 
                                      เมื่อได้มีการจัดอันดับผู้ผลิตยาเสพติด ปรากฏว่า

      อันดับ.1 คือ กลุ่มโกกั้ง ซึ่งปัจจุบันมี นาย เผิงจาเซิง  เป็นผู้นำ มีโรงงานผลิตสำคัญในเขตปกครองพิเศษ 1 ติดกับเมืองปางซาง และที่โขงโค้ง ต.เชียงราบ จังหวัดท่าขี้เหล็ก และยังเชื่อมโยงกับผู้นำเมืองลา เจ้าจายลืน นาย หลิน หมิ่ง เสียน  ผู้นำสูงสุดของ NDAA ศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองกำลังพันธมิตรชาติประชาธิปไตย NDAA หรือ กลุ่มหยุดยิงเมืองลา อยู่ในภาคตะวันออกของรัฐฉาน  ซึ่งมีฐานะเป็นลูกเขยของนาย เผิงจาเซิง ที่อยู่ในเขตปกครองพิเศษ 4 เมืองลา ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้ใช้พื้นที่ในเขตอิทธิพล ทั้งเมืองปางซาง เมืองลา และเมืองทา ผลิต ยาเสพติด
      อันดับ. 2 คือ กลุ่มว้าแดง และกองกำลังติดอาวุธพม่า ภายใต้การนำของ 3 พี่น้องตระกูลเหว่ย ทั้งเหว่ย  เซียะ กัง - เหว่ย เซียะ หลง และ เหว่ย เซียะ หยิง ซึ่งรายได้ของกลุ่มนี้ยังนำไปพัฒนาขีดความสามารถด้านการทหารของกองกำลังติดอาวุธ ในเขตภาคใต้ของรัฐฉาน โดยเฉพาะที่เมืองยอน โดยกลุ่มนี้จะใช้เครือข่ายธุรกิจ  ตามแนวแม่น้ำโขง โดยเฉพาะบ่อนพนันเป็นสถานที่เจรจาซื้อขายและส่งมอบยาเสพติดโดยมีเส้นทางลำเลียงที่  สำคัญอยู่ 2  เส้นทาง คือจากหมู่บ้านป่าซาง ผ่านหมู่บ้านลา แล้วลงเรือที่ท่าเรือสบหรวย จากนั้นก็ล่องไปตามแม่น้ำโขง โดย
มีนักธุรกิจชาวจีนที่เข้ามาทำธุรกิจสีเทาบริเวณชายแดน จะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างกลุ่ม  ผู้ผลิตกับเอเย่นต์รายใหญ่ โดยมีบ่อยครั้งที่กลุ่มนี้ อาศัยเรือสินค้าที่ขนถ่ายสินค้าอยู่ในแม่น้ำโขง ลำเลียงยาเสพติดจากแหล่งผลิตมาส่งมอบให้ลูกค้าในประเทศไทย

                                            การเข้าสู่ประเทศไทยของกองพล 93

         ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อพรรค ก๊กมินตั๋ง ที่นำโดยจอมพล เจียงไคเช็ค ได้พ่ายแพ้ต่อ พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่นำโดยประธาน เหมาเจ๋อตง จึงได้ถอยทัพไปตั้งรัฐบาลใหม่ยังเกาะฟอร์โมซา (ประเทศไต้หวันในปัจจุบัน)  ซึ่งในการถอนร่นนั้น  เจียงไคเช็ค ได้วางกำลังของตนเองไว้ที่มณฑลยูนาน 2 กองทัพด้วยกันคือ  กองทัพที่ 8 และกองทัพที่ 26 ซึ่งแต่ละกองทัพประกอบด้วย 2 กองพล โดยที่กองพล 93 เป็นหน่วยหนึ่งที่ขึ้นตรง ต่อกองทัพที่ 26  ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้กองกำลังคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตงไล่ตาม กองกำลังที่เคลื่อนย้ายไปยังเกาะฟอร์โมซาได้ทัน 

        ในเวลาต่อมากองทัพที่ 8 และกองทัพที่ 26ได้ถูกกองทัพของฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ตีแตกพ่ายและถอยลง มายังพื้นที่พม่าตอนบนใกล้กับพรมแดนมณฑลยูนานของจีน กองทัพที่ 26 ได้ถูกกองกำลังของจีนคอมมิวนิสต์ตี แตกพ่ายอีกครั้งและได้ถอยร่นไปยังลาวและเวียดนาม อีกส่วนก็ถอยเข้ามายังรัฐฉานของประเทศพม่า ผ่านทางรัฐ ฉานด้านเมืองเชียงตุง แล้วผ่านมาทางขี้เหล็กของประเทศไทย โดยมีกองกำลังนับหมื่นคน ซึ่งจำนวนทหารที่อยู่ใน  ส่วนนี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นกำลังพลที่มาจากหน่วยกองพล 93

        ในขณะที่รัฐบาลพม่าในปี 2504 ได้ดำเนินการปราบปรามกองกำลังทหารจีนพลัดถิ่นเหล่านี้อย่างจริงจัง ทำ ให้กองกำลังของนายพลหลี่ หมี แตกพ่าย โดยกองทัพที่ 1, 2 และ 4 จำนวน 4,349 คน ของนายพลหลี่ หมี ได้ถูกรัฐบาลพม่าจับตัวส่งตัวกลับไปไต้หวัน คงเหลือแต่กองทัพที่ 3 ของนายพลหลี่เหวินฝาน และกองทัพที่ 5 ของนายพล ต้วน ซี เหวิน  โดยนายพลทั้ง 2 ไม่ไม่ต้องการกลับไปไต้หวัน จึงได้นำกำลังที่เหลืออพยพหนีการกวาดล้างของพม่าเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยไต้หวันประกาศจะไม่สนับสนุนช่วยเหลือกองกำลังที่ตกค้าง เหล่านี้อีก

นายพล ต้วน ซี เหวิน
       ในที่สุด กองทัพที่ 3 ของนายพลหลีเหวินฝานก็มาถึงอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองทัพที่ 5 ของนายพลต้วนซีเหวิน ก็เข้ามาปักหลักอยู่ที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

         สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนกองทัพที่แตกพ่ายโดยขอความร่วมมือจากกษัตริย์ภูมิพล  

          ณ เวลานั้น เป็นเวลาเดียวกันที่สหรัฐอเมริกามีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่กระจายของระบอบ คอมมิวนิสต์  ด้วยเหตุนี้สหรัฐอเมริกาจึงต้องการสร้างแนวยับยั้งคอมมิวนิสต์จากทิเบตถึงประเทศไทย ดังนั้นสหรัฐ จึงได้สนับสนุนกลุ่มทหารแตกทัพเหล่านี้ รวมทั้งยังขอความร่วมมือไปยังกษัตริย์ภูมิพล และรัฐบาลไทยให้ สนับสนุนทหารกองพล 93 ของเจียงไคเช็ค ซึ่งเหลือตกค้างอยู่ในประเทศไทยประมาณ 3 หมื่นนายด้วย ซึ่งกษัตริย์ภูมิพลก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ต่อมากษัตริย์ภูมิพลมีความสนิทสนม กับ นายพลต้วน ซี เหวิน ผู้นำกองพล93 เป็นกรณีพิเศษ

นายพล ต้วนซีเหวิน หรือต่อมาเป็นนายชีวัน คำลือ
      และต่อมาในหมู่บ้านของกองกำลังทหารจีนคณะชาติที่ตกค้างนั้น มีการตั้งโรงเรียนการสอนภาษาจีนที่ดอยแม่สะลอง ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุดของไทย โดยการสนับสนุนของกษัตริย์ภูมิพล ได้เสนอให้สัญชาติไทยแก่บุคคลเหล่านี้ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาให้สัญชาติแก่อดีตทหารจีนคณะชาติเหล่านี้ ซึ่งพิจารณาในพื้นที่บางส่วนเช่น บ้านเปียงหลวง บ้านถ้ำง็อบ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่บนดอยแม่สะลอง บ้านแม่แอบ บ้านผาตั้ง จังหวัดเชียงราย ส่วนที่บ้านหัวลาง และบ้านนาป่าแปก จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยสถานที่เหล่านี้กลายเป็นหมู่บ้านที่อยู่อาศัยของอดีตกองทหารจีนคณะชาติ หรือกองพล 93 และจีนฮ่ออพยพ ในปัจจุบัน

                                         กองพล 93 เริ่มติดต่อกับกลุ่มโกกั้งในพม่า

       เมื่อกองพล 93 ได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลุกฝิ่นในประเทศไทย และอาศัยที่เป็นคนจีนด้วยกันจึงได้ ประสานงานกับกลุ่มโกกั้งที่อยู่ในรัฐฉานหรือที่เรียกว่ารัฐว้าของพม่า โดยที่ทหารของกองพล 93 ในขณะนั้น ยังไม่มีอาชีพอื่นใด  จึงทำให้ในช่วงแรก กองพล 93 ดำรงชีวิตด้วยการรับจ้างกลุ่มโกกั้งลำเลียงขนฝิ่นและเฮโรอีนเข้าสู่ประเทศไทย รวมทั้งการตั้งด่านภาษีเถื่อนและการค้าอาวุธสงคราม
                       
                                     กษัตริย์ภูมิพลเห็นช่องทางในการค้ายาเสพติด

        เมื่อสถานการณ์หลายอย่างเอื้ออำนวย จึงทำให้กษัตริย์ภูมิพลและพระชนนีศรีสังวาล ที่อยากจะค้ามอร์ฟีนมาแต่แรกแล้ว จึงได้ใช้สถานการณ์ที่สหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้มีการต่อต้านระบอบคอมมิวนิสต์ และการที่มีกองพล 93 ที่กำลังร่วมมือกับกลุ่มโกกั้งได้เข้ามาอยู่ในความดูแลของไทย เป็นช่องทางในการที่จะหาเงินมาสร้างฐานอำนาจให้ตัวเอง

       ซึ่งในช่วงนั้นกลุ่มโกกั้งได้ส่งคนของตัวเองชื่อนายจิมมี่ หยาง มาสร้างโรงแรมขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ในปีพ.ศ. 2512 ชื่อโรงแรมรินคำ โดยนายจิมมี่ หยาง เป็นผู้บริหารเอง 

โรงแรมรินคำ
       และในจังหวัดเชียงใหม่เช่นเดียวกัน สหรัฐอเมริกาได้ใช้โรงพยาบาลแมคคอร์มิค ที่มีสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุน เป็นสถานที่ในการประสานงานกับทหารไทยและกองพล 93 เพื่อยับยั้งระบอบคอมมิวนิสต์

โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่
        โดยสถานที่ทั้งสองแห่งนี้ กษัตริย์ภูมิพลฉวยโอกาสใช้เป็นศูนย์กลางในการติดต่อการค้ามอร์ฟีนและเฮโรอีนไปสู่ อเมริกาและออกสู่ตลาดโลก โดยสองศูนย์กลางนี้ ได้มีการประสานงานกับโครงการหลวงโดยภูมิพลใช้ศูนย์ ชาวเขาเป็นตัวประสานงานกับสองศูนย์กลางนี้

        ถึงแม้ว่าต่อมาทั้งโรงแรมรินคำและโรงพยาบาลแมคคอร์มิคที่เชียงใหม่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามอร์ฟีนแล้วก็ตาม แต่กษัตริย์ภูมิพลและเครือข่ายก็ยังมีการต่อยอด โดยการหันไปใช้ศูนย์ชาวเขาในโครงการหลวงที่ดอยตุง และศูนย์วิจัยฝิ่นที่สามเหลี่ยมทองคำ ในจังหวัดเชียงรายบังหน้า โดยให้เป็นทั้งศูนย์ประสานงาน และเป็นแหล่งสกัดเฮโรอีนและสารเสพติดอื่นๆ อีกด้วย

         (ในอดีตยาเสพติดจะถูกส่งเข้ากรุงเทพฯโดยรถยนต์ของทหารเป็นส่วนใหญ่  แต่ในปัจจุบันรถยนต์ของกองทัพภาคที่ 3 เอามาใช้ขนยาเสพติดน้อยลง แต่จะใช้รถขนส่งที่ติดป้ายและโลโก้ของโครงการหลวงเป็นส่วนใหญ่ โดยจะถูกส่งมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ในโครงการหลวง)

..มีต่อตอนที่ 5
รถยนต์ขนส่งโครงการหลวง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

                                            สิ่งปนเปื้อนในพุทธศาสนา พุทธโควิท บทความโดย: นายพิษณุ พรหมสร เผยแพร่: 4 กุมภาพันธ์ 2566 ถ้าบอกตั...